10 เคล็ดลับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

1. ป้องกันด้วยการบุนวม

ทุกๆ คนคงเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำตก กระแทก และลื่นหล่น ส่งผลให้เกิดรอยที่ไม่น่าดู ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ดูไม่น่ารัก หากคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่ต้องพกพีซีออกเดินทางไปด้วย อาจรู้สึกว่าการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ เมื่อต้องเก็บพีซีไว้ในกระเป๋าถือ ทุกสิ่งที่คุณอยากจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นขณะเดินทาง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้แล็ปท็อปที่ไม่ได้รับการห่อหุ้มนั้นเกิดความเสียหาย

ไม่ว่าคุณจะบินในชั้นธุรกิจหรือเดินเข้าห้องเรียนทั่วมหาวิทยาลัย การปกป้องพีซีจากปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นเริ่มต้นด้วยเคสป้องกันความเสียหาย รูปแบบเคสที่แตกต่างกัน ย่อมมีระดับการป้องกันและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

สกิน

สกินแล็ปท็อปทำหน้าที่เป็นสติกเกอร์หุ้มแล็ปท็อปแบบทั่วทั้งตัวเครื่อง เหมาะสำหรับปกป้องตัวเครื่องจากความเสียหายเล็กน้อยและรอยขีดข่วน

ฝาครอบด้านหลังจอแล็ปท็อป

ฝาครอบแล็ปท็อปที่ทำจากโพลีคาร์บอเนต พลาสติก หรือยางหุ้มแข็ง จะปกป้องพีซี ในขณะที่คุณยังคงสามารถใช้พอร์ต ปุ่ม ไฟ และพัดลมได้อย่างสะดวกง่ายดาย

ซองใส่แล็ปท็อป

ซองกระเป๋าแล็ปท็อปที่เรียบง่ายและมีสัมผัสนุ่ม ซึ่งปกติแล้วจะทำจากวัสดุที่อ่อนโยน เช่น ไนลอน โพลีเอสเตอร์ หนังกลับ หรือไมโครไฟเบอร์ ถือเป็นเคสป้องกันความเสียหายที่มีน้ำหนักเบา

กระเป๋าสะพายข้าง

กระเป๋าสะพายข้างที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแล็ปท็อปและอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จำเป็นโดยเฉพาะ โดยกระเป๋าใส่แล็ปท็อปชนิดนี้ จะมีการป้องกันด้วยการบุนวมมากที่สุด

 

2. จัดระเบียบสายต่างๆ

สิ่งเดียวที่น่าหงุดหงิดมากกว่าการจัดการกับสายไฟที่ยาวและพันกันยุ่งเหยิง คือ การนำสายเหล่านั้นมารวมกันและจัดระเบียบ การเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลอยู่เสมอก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การเก็บสายให้เรียบร้อยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำกันได้ตลอด การสละเวลาแกะคลายปมและจัดระเบียบก้อนสายไฟที่พันกันเหมือนงู จากปลั๊กพ่วงและพอร์ต PC  เป็นขั้นตอนแรกที่ยอดเยี่ยมสำหรับทั้งผู้ใช้เดสก์ท็อปและแล็ปท็อป ลองใช้เคล็ดลับการจัดระเบียบสายเหล่านี้ดูสิ

รางปลั๊กไฟแบบหมุน

รางปลั๊กไฟแบบทั่วไปจะมีรูปทรงเป็นแท่งหรือเป็นแผงใหญ่ๆ รางปลั๊กไฟแบบหมุนจะช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนตำแหน่งของสายชาร์จ จอภาพ และพ็อตเชื่อมต่อจำนวนมากได้อย่างมีอิสระ

สายไฟที่มีรหัสสี

สายคอมพิวเตอร์มักจะมีสองสีคือขาวและดำ การจัดระเบียบสายไฟอาจเป็นเรื่องง่ายๆ แค่ใช้สีเป็นรหัสบอกว่าแต่ละสายคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีแดง น้ำเงิน เหลือง และเขียว หรือใช้ป้ายกำกับในเฉดสีที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้

คลิปหนีบสาย

การจัดการสายไฟทำได้ไม่ยาก เมื่อคุณติดคลิปหนีบสายไฟเข้ากับโต๊ะทำงาน ผนัง หรือพื้น คลิปขนาดเล็กเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อยึดสายไฟทั้งหมดที่มีขนาดต่างกัน

แผงจัดระเบียบสายไฟ

แผงจัดระเบียบสายไฟทำหน้าที่เป็นแผงสำหรับคลิปหนีบสายไฟ สามารถรองรับสายไฟได้หลายสาย เพียงยึดไว้ด้วยกระดาษกาว หรือห้อยไว้ข้างโต๊ะโดยใช้แผงนั้นถ่วงน้ำหนักไว้

เคล็ดลับระดับโปร: โปรดวางสายไฟให้ห่างจากทางเดิน การสะดุดสายไฟอาจทำให้อุปกรณ์ร่วงหล่น และสร้างความเสียหายยิ่งกว่าการใช้งานเป็นเวลาหลายปีได้ในพริบตา

 

3. อัปเดตระบบปฏิบัติการ

หากคุณกำลังมองหาวิธีบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การทำให้ระบบปฏิบัติการทันสมัยอยู่เสมอเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะใช้ Windows, Mac หรือ Linux การอัปเดตพีซีเมื่อมีแพตช์ใหม่พร้อมให้ใช้งาน จะช่วยให้พีซีนั้นคงประสิทธิภาพที่เหนือชั้นเสมอ

Windows 10 เป็นที่รู้จักในด้านการแจ้งเตือนผู้ใช้ให้ตรวจสอบการอัปเดตวันละครั้ง การสแกนอัตโนมัตินี้เกิดขึ้นในเบื้องหลัง และจะแจ้งให้คุณทราบเสมอหากมีซอฟต์แวร์สำคัญ หรือแพตช์สั่งการให้แก้ไขระบบปฏิบัติการที่จำเป็น เป้าหมายสุดท้าย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพพีซี ดังนั้นเมื่อ Windows แนะนำให้คุณอัปเดต คุณก็ควรอัปเดต

เคล็ดลับระดับโปร: การอัปเดตบางอย่างใช้เวลานานกว่าการอัปเดตอื่นๆ ควรจัดสรรเวลาอัปเดตเป็นช่วงก่อนนอน หรือระหว่างช่วงพักกลางวัน เพื่อให้ Windows ดำเนินการสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ขัดจังหวะการทำงานของคุณ

 

 

4. ถอดปลั๊กเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการชาร์จไฟที่มากเกินไป

การปรับพลังงานแบตเตอรี่ให้เหมาะสมด้วยอุปกรณ์ไร้สายเพิ่มเติม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในบรรดาข้อควรทำทั้งหลาย แม้จะมีหลายสิ่งที่น่ากลัวกว่าแบตเตอรี่ที่กำลังจะหมด ขณะคุณยังมีเวลาทำงานและเวลาเล่นเหลือเฟือในตารางเวลาของวันก็ตาม แต่เป็นการดีกว่าที่จะหักห้ามใจไม่ให้เสียบปลั๊กในขณะที่พีซีเหลือแบตต่ำกว่า 50%

การชาร์จที่ไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดภาวะการชาร์จไฟเกิน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการสร้างพลังงานใหม่ลดลง ซึ่งแล็ปท็อปจะมีลักษณะเหมือนชาร์จไฟไม่เข้าอย่างที่เคยทำได้มาก่อน

ข้อจำกัดของน้ำหนักเครื่องชาร์จนั้นขัดวัตถุประสงค์ของแล็ปท็อปในการที่คุณต้องการพกพาแบบไร้สาย เพื่อหลีกเลี่ยงชะตากรรมแบตเตอรี่เสื่อม ให้ถอดปลั๊กอุปกรณ์หลังจากที่ชาร์จถึง 100% และอย่าเสียบปลั๊กจนกว่าไฟจะเหลือน้อยจริงๆ

5. ล้างระบบด้วยการลบไฟล์ขยะและโปรแกรมต่างๆ

คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมานานมักจะมีจำนวนไฟล์ที่ไม่ได้ใช้เยอะมาก ซึ่งจะอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์ โปรแกรมที่ไร้ประโยชน์และไฟล์ขยะเก่าๆ อาจใช้พื้นที่มากกว่าที่คุณคิด พีซีจะต้องแบ่งพื้นที่อย่างยุติธรรมบนเดสก์ท็อปหรือในเมนูเริ่มต้นให้กับเศษขยะดิจิทัลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชันเก่าไปจนถึงเรซูเม่เวอร์ชันที่เลิกใช้ไปแล้ว โปรแกรมและไฟล์เหล่านี้จะกลายเป็นตัวกินพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว หากคุณยังคงสะสมไว้อยู่

ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะมาถึงจุดที่ต้องร้องขอพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่ม ให้ลองใช้เคล็ดลับการล้างข้อมูลสำหรับพีซีเพื่อแบ่งเบาระบบของคุณ ดังนี้

  • ถอนการติดตั้งซอฟต์แวร์ทดลองใช้
  • เรียกใช้ซอฟต์แวร์ล้างดิสก์ หรือ Disk Cleanup
  • ล้างถังขยะ หรือ Recycle Bin
  • ลบไฟล์ชั่วคราว
  • ลบแคชของหน้าเว็บออฟไลน์

6. สแกนไวรัสเป็นประจำ

มัลแวร์จ้องจะโจมตีคุณได้ทุกเมื่อ และหากคุณโดนโจมตีไปแล้ว การติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัสที่ชาญฉลาดบนพีซีจะปกป้องคุณจากความเสียหายที่มีสาเหตุจากไวรัส การสแกนไวรัสทุกๆ สัปดาห์ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคอมพิวเตอร์จะปลอดไวรัสที่เกิดจากซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย โดยการสแกนเบื้องต้นจะตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์มีอันตรายหรือกิจกรรมแปลกปลอมเกิดขึ้นหรือไม่

สำหรับผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์บ่อยๆ และดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์เป็นประจำ ให้ลองสแกนไวรัสสัปดาห์ละสองครั้ง ให้ความสนใจเป็นพิเศษในด้านความปลอดภัยย่อมดีกว่าเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล

การติดมัลแวร์สามารถลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ และเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับต่ออาชญากรไซเบอร์บุคคลที่สาม ประเภทของมัลแวร์ที่ฝังตัวอยู่ในระบบของคุณ อาจสร้างความเสียหายที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ชะลอความเร็วเว็บเบราว์เซอร์
  • รบกวนการเชื่อมต่อเครือข่าย
  • หยุดการทำงานหรือพังระบบของคุณ
  • เปลี่ยนการตั้งค่าคอมพิวเตอร์
  • อนุญาตการเข้าถึงทรัพยากรระบบที่ไม่พึงประสงค์

การสแกนไวรัสเป็นประจำทำให้คุณวางใจได้ว่าไม่มีสิ่งใดหลุดลอดไป อย่าลืมเลือกใช้โปรแกรมสแกนไวรัสที่สามารถสแกนการดาวน์โหลดทั้งหมดของคุณด้วย

7. ทำความสะอาดแป้นพิมพ์และเคส

คุณอาจตกใจถ้าเห็นว่าสิ่งแปลกปลอมและสิ่งสกปรกอยู่ใต้ปุ่มแป้นพิมพ์มากแค่ไหน เศษเล็กเศษน้อยจำนวนมากสามารถเข้าไปอุดตันแป้นพิมพ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเศษอาหารและขนสุนัข ไปจนถึงฝุ่นและสิ่งสกปรก รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างปุ่ม ซึ่งมักจะทำให้ปุ่มเหนียวหรือกดยาก

การทำความสะอาดส่วนที่ยากต่อการเข้าถึงของแล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปนั้นทำได้ง่ายดายที่สุดด้วยปั๊มอัดลม สามารถหาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์สำนักงาน ร้านคอมพิวเตอร์ และร้านฮาร์ดแวร์

สำหรับแป้นพิมพ์เสริมภายนอก

ถอดปลั๊กแป้นพิมพ์ออกจากพอร์ต USB หรือปิดเครื่องหากเป็นแบบไร้สาย พลิกแป้นพิมพ์กลับด้านแล้วเขย่าเศษผงออกก่อน เป่าหรือพ่นลมตรงแถวๆ มุม โดยเป่าหรือพ่นให้ห่างจากปุ่มคีย์บอร์ดแต่ละปุ่มประมาณ 1 นิ้ว ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบน้ำหมาดๆ เช็ดฝุ่นหรือรอยเปื้อนส่วนเกินออก

สำหรับผู้ใช้แล็ปท็อป

ปิดเครื่องและถอดสาย USB หรือสายแบตเตอรี พลิกแล็ปท็อปกลับด้านแล้วเคาะด้านหลังเบาๆ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา วางแล็ปท็อปลงในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ แล้วพ่นลมระหว่างปุ่มต่างๆ ในระยะห่างประมาณ 1 นิ้ว พ่นเป็นจังหวะสั้นๆ จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งของแป้นพิมพ์

หากพบว่ามีบางจุดที่ทำความสะอาดยากกว่าจุดอื่นๆ ให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ไอโซโพรพิล ถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะแอลกอฮอล์ระเหยได้เร็วกว่าน้ำ จึงเหมาะสำหรับจัดการเศษผงที่ค่อนข้างแข็ง

เคล็ดลับระดับโปร: เมื่อทำความสะอาดแล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อป ระวังอย่าทำของเหลวหกใส่เครื่อง เพราะน้ำและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่ถูกกัน และอาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์เสียหายอย่างรุนแรง

8. อัปเดตรหัสผ่านของคุณ

การอัปเดตรหัสผ่านของคุณเป็นงานที่สำคัญพอๆ กับการสำรองข้อมูล รายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงด้านการละเมิดข้อมูลปี 2017 โดย Verizon พบว่า 81% ของการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับการแฮ็กข้อมูลอันน่าหวาดกลัวนั้น ใช้ประโยชน์จากการขโมยรหัสผ่าน และ/หรือรหัสผ่านที่ไม่รัดกุม [1] การตั้งรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่การใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับทุกบัญชี ไปจนถึงการใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย เช่น “password” หรือ “123456”

เมื่อพูดถึงการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การปกป้องโลกดิจิทัลของคุณจากอาชญากรไซเบอร์ควรเป็นหน้าที่สำคัญอันดับต้นๆ ในรายการสิ่งที่ต้องทำของคุณเสมอ ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ และทันสมัยมากกว่าที่เคยมีมา ผู้บริโภคควรตระหนักถึงเรื่องนี้ในวงกว้าง

หากพ้นกำหนดสำหรับการอัปเดตรหัสผ่านไปแล้ว ให้ลองใช้เคล็ดลับการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม ดังนี้

  1. ใช้อักขระอย่างน้อย 10 ตัว
  2. ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกัน
  3. ใส่ตัวเลขและสัญลักษณ์พิเศษไปด้วย
  4. ถ้าเป็นไปได้ให้เพิ่มอีโมติคอน (:O, :(, :D, :), TT)

รหัสผ่านที่รัดกุมจะช่วยปกป้องข้อมูลของคุณทั้งหมดจากแฮ็กเกอร์บุคคลที่สาม เป็นเหตุผลว่าทำไมข้อนี้ถึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

9. จัดระเบียบข้อมูล

การละเลยต่อการจัดระเบียบข้อมูลของคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะบางทีไลฟ์สไตล์การทำงานและการเล่นของคุณก็ไม่มีเวลาเหลือให้ได้จัดการไฟล์เลย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เพลงการาจเก่าๆ ของคุณ หรือส่วนเสริมที่ดาวน์โหลดมาสำหรับเกมที่คุณชอบเล่น ยิ่งเวลาผ่านไปโฟลเดอร์ในพีซีก็อาจเพิ่มจำนวนมากขึ้น

หากจำไม่ได้ว่าคุณตรวจสอบโฟลเดอร์ต่างๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ก็แปลว่าถึงเวลาต้องลงมือจัดการแล้ว ซึ่งรวมถึงโฟลเดอร์พื้นฐานที่เหลือเช่นกัน (เอกสาร ภาพถ่าย ฯลฯ)

การจัดการกับเดสก์ท็อปที่รกหรือโฟลเดอร์คอมพิวเตอร์ที่แออัดอาจเป็นงานที่น่ากลัว แต่ถ้าใช้กลเม็ดเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะเข้าสู่ระบบการทำงานของไฟล์และโฟลเดอร์ได้สะดวก

สร้างโฟลเดอร์หลักขนาดใหญ่

ทุกคนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจุดประสงค์หลักที่แตกต่างกัน นักเขียนอิสระมักจะมีโฟลเดอร์งานหลักๆ ที่แตกต่างไปจากเกมเมอร์มือโปรหรือเจ้าของธุรกิจอย่างสิ้นเชิง สิ่งสำคัญ คือ ต้องจำกัดพื้นที่โลกดิจิทัลให้น้อยลง ด้วยการแบ่งโฟลเดอร์ง่ายๆ เพื่อให้การจัดระเบียบรอบแรกทำได้สบายๆ และง่ายยิ่งขึ้นไปอีกในรอบต่อๆ ไป

สร้างโฟลเดอร์ย่อยขนาดเล็ก

ภายในโฟลเดอร์หลักที่ใหญ่ขึ้น โฟลเดอร์ย่อยที่เล็กกว่าจะทำให้การจัดระเบียบราบรื่นยิ่งขึ้น หากสามารถจัดหมวดหมู่ไฟล์ตามฟังก์ชันหรือเนื้อหาได้ ก็จะช่วยให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ง่ายขึ้นในทุกครั้งที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ่มค้นหา

ล้างโฟลเดอร์ดาวน์โหลด

โฟลเดอร์ดาวน์โหลดควรทำหน้าที่เป็นแคชชั่วคราวสำหรับรองรับไฟล์ที่ดาวน์โหลดล่าสุด ย้ายไฟล์ที่เพิ่งดาวน์โหลดมาไว้ในโฟลเดอร์ที่เหมาะสม หรือลบทิ้งเมื่อได้ใช้งานไปแล้วเสมอให้เป็นนิสัย

ล้างเดสก์ท็อป

เมื่อคุณเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน หรือเล่นโซเชียลมีเดีย คุณคงไม่อยากให้ความยุ่งเหยิงมาเพิ่มความเครียด ให้ล้างเดสก์ท็อปด้วยการลบไฟล์ โฟลเดอร์ หรือโปรแกรมใดๆ ที่คุณไม่ต้องการใช้งานในทุกๆ ครั้งที่เปิดเครื่อง

ตั้งชื่อไฟล์อย่างรอบคอบ

หากคุณต้องบันทึกรูปภาพ ไฟล์ PDF และไฟล์ทั่วไปอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง คุณจะรู้ว่าการพิมพ์คำที่ไม่มีความหมายนั้นง่ายแค่ไหนสำหรับขั้นตอน “บันทึกเป็น” หรือ “Save As” แต่แทนที่จะรีบเร่ง ให้ใช้เวลาตั้งใจคิดชื่อไฟล์สักนิด เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีอะไรอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์และอยู่ที่ไหนบ้าง

10. สำรองข้อมูล

ส่วนหนึ่งของการเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ คือ การเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด การขัดข้องกะทันหัน ความผิดพลาดที่ไม่คาดคิด และความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์แบบไม่ได้ตั้งใจ ล้วนมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลที่อยู่ในพีซี การสำรองไฟล์เป็นหนึ่งในขั้นตอนการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่สุดที่ผู้ใช้พีซีสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราได้จัดข้อนี้ไว้ที่อันดับสุดท้าย คุณสามารถเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ได้ แต่หากไม่ได้สำรองข้อมูลไว้ ก็ไม่สามารถหาข้อมูลที่เหมือนเดิมมาทดแทนได้

การสำรองข้อมูลเต็มรูปแบบมักจะเก็บไว้บนคลาวด์หรือฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมาก การทำสำเนาของทุกสิ่งบนพีซี (จริงๆ แล้วการเก็บข้อมูลไว้ทั้ง 3 ที่นั้นปลอดภัยที่สุด) ทำให้ข้อมูลที่มีค่าทั้งหมดอยู่ทั้งในคอมพิวเตอร์ และในไดรฟ์ภายนอกหรือบนคลาวด์

ดูคู่มือฐานความรู้พื้นฐานจากเราเพื่อเรียนรู้คำแนะนำแบบครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีการสำรองข้อมูลเต็มรูปแบบบนพีซี Windows 10 หรือ Windows 8